วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

Japanese pumpkin ฟักทองญี่ปุ่น

ฟักทองญี่ปุ่น (Japanese Pumpkin)ผักตระกูลแตง Cucurbitaceae
มีถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลาง ภาคเหนือของเม็กซิโก และภาคตะวันตกของ อเมริกาเหนือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucurbita moschata ปลูกกันแพร่หลาย ในเขตร้อน และเขตแห้งแล้ง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ตามพื้นดิน ยาว 20-30 ฟุต ลักษณะลำต้นแข็ง เป็นเหลี่ยม มีร่องยาว ใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขนาดใหญ่ ขอบใบหยักลึก มีขนปกคลุม เนื้อใบหยาบ ก้านใบและดอกมีขนาดเล็ก ผลมีสีเขียว รูปทรงกลมค่อนข้างแบน เนื้อแน่นแข็ง ฟักทองอ่อนเนื้อสีเหลือง เมื่อแก่เนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม รสเข้ม เมล็ดแบนรี สีขาวนวล อายุกเก็บเกี่ยว หลังจากย้ายปลูก ประมาณ 110 วัน
สภาพแวดล้อมการปลูกฟักทองญี่ปุ่น
สภาพอากาศ ฟักทองญี่ปุ่นเจริญได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น มีความชื้นพอเพียง สามารถปลูกได้ในพื้นที่ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 ถึง 1200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อุณหภูมิ โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะกล้าฟักทองญี่ปุ่น อยู่ระหว่าง 21.1-35.0′C ในขณะที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-24′C
ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกฟักทองญี่ปุ่น ควรเป็นดินร่วนซุย มีความสมบูรณ์ หน้าดินลึก และระบายน้ำได้ดี
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของฟักทองญี่ปุ่น
ส่วนของฟักทองญี่ปุ่น ที่สามารถรับประทานได้ เช่น ผล ยอดอ่อน ดอก และเนื้อที่อยู่ในเมล็ด เนื้อฟักทองญี่ปุ่นที่ดี ต้องแน่นและเหนียว สามารถนำผลมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง ผัด แกงเผ็ด ต้มจิ้มน้ำพริก หรือต้มน้ำตาลคลุกงา ผสมเกลือป่นเล็กน้อย รับประทานคล้ายขนมหวาน ทำฟักทองแกงบวด สังขยาฟักทอง ฟักทองเชื่อม ดอกฟักทอง และยอดฟักทองนำมาแกงส้ม หรือลวกจิ้มน้ำพริก เมล็ดฟักทองญี่ปุ่นนำมาอบแห้ง กินเนื้อข้างใน
ฟักทองญี่ปุ่น มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม และมีสารเบต้าแคโรทีน ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เมล็ดฟักทองช่วยป้องกันไม่ให้ ต่อมลูกหมากโต ป้องกันและรักษาโรคนิ่วป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ฟักทองญี่ปุ่นนึ่ง หรือ หั่นเป็นชิ้น เข้าไมโครเวฟ 2-3 นาที อาหารเช้ามีประโยชน์ สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญ “ไม่อ้วน” ฟักทองญี่ปุ่น ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกบาง ไม่ต้องปอกเปลือกเวลาเอาไปทำอาหาร และใช้ทำอาหารได้เหมือนฟักทองบ้านเรา แต่สิ่งที่ต่างคือ เนื้อแน่น หวาน และเหนียว อีกเมนูที่อร่อยมาก คือ ฟักทองเทมปุระ ขนาดที่เคยกินไม่ใช่เทมปุระสมบูรณ์แบบนะเนี่ย แค่ใช้แป้งชุปทอดธรรมดาแต่อร่อยสุด ๆ ฟักทองมีวิตามินเอ ซี ธาตุเหล็ก และอีกมากมาย รวมทั้งเส้นใย และมีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพของตับและไต ลดอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการขับพยาธิได้ดี นอกจากนี้เนื้อฟักทองมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นวิตามินเอ จึงเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ เพื่อป้องกันการขาดวิตามินเอจากเนื้อสัตว์ฟักทองญี่ปุ่น


การปฏิบัติดูแลรักษาฟักทองญี่ปุ่นในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า เพาะกล้าฟักทองญี่ปุ่น แบบประณีตในถาดหลุมขนาดใหญ่ ย้ายปลูกเมื่อใบเลี้ยงงอก (อายุ 6-8 วัน) โดยไม่ต้องรอใบจริง
การเตรียมดินปลูกฟักทองญี่ปุ่น โรยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. และขุดดิตตากแดด 14 วัน เก็บเศษวัชพืชออกให้สะอาด
การปลูกและดูแลรักษาฟักทองญี่ปุ่น เตรียมดินขึ้นแปลง สูง 25-30 ซม. กว้าง 3 เมตร ขุดหลุมกว้าง 80 และลึก 30 ซม. ห่างกันหลุมละ 100 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 3 เมตร คลุกปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ต้น ปุ๋ย 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ต้น กลับดินให้เข้ากัน กลบดินเต็มหลุม รดน้ำในหลุมให้ชุ่ม และควรปลูกในเวลาเย็นข้อควรระวัง อย่าย้ายกล้าเมื่ออายุต้นแกเกินไป (ไม่เกิน 10 วัน)
การทำค้าง ควรทำในช่วงฤดูฝน เพื่อลดการเกิดโรคจากเชื้อรา และป้องกันหนูกัดกินผล โดยการทำค้างสูงจากพื้นดินประมาณ 1-1.50 เมตร
การตัดแต่งผล ให้เหลือไว้ 1 ลูก/กิ่ง เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์และขนาดตามที่ตลาดต้องการ ในการเก็บผลไว้ ควรตรวจดูให้ละเอียด ว่ามีรอยแผลแมลงเจาะวางไข่ ไว้หรือไม่ ตั้งแต่ผลเล็ก จากนั้นใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มผลไว้เพื่อป้องกันแมลงเจาะวางไข่
กรณีปลูกแบบเลื้อย ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ รองผลและห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทองและสีผิวเสีย
การให้น้ำ ให้น้ำฟักทองญี่ปุ่นตามความเหมาะสม ในช่องแรกให้รดน้ำโดยการใช้สปริงเกอร์
การให้ปุ๋ย ระยะแรกใส่ปุ๋ย 46-0-0 และ 15-0-0 อัตรา 30-35 กรัม/ต้นและ 20 กรัม/ต้น ตามลำดับ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 40 กรัม/ต้น ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 80 กรัม/ต้น
การเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 105-120 วัน หรือผิวมีสีเข้มมันแข็งแรง ขั้วผลจะเป็นสีน้ำตาล และขนาดเล็กลงใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้ว ควรล้างทำความสะอาดผลและทา ปูนแดงที่ขั้วแล้วนำไปผึ่งไว้ในเรือนโรง

ข้อควรระวัง
การปลูกฟักทองญี่ปุ่นในฤดูแล้ง ควรระวังเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นกล้าระยะการเจริญเตืบโตระยะแรก
ควรดูแลต้นฟักทองในระยะการเจริญเติบโตระยะแรกเป็นพิเศษ
โรคและแมลงศัตรูฟักทองญี่ปุ่นที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 6-8 วัน เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว,
ระยะย้าย-เจริญเติบโต 8-20 วัน โรคราแป้ง, โรคไวรัส, เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว,
ระยะติดผล 40-80 วัน โรคราแป้ง, โรคไวรัส, เพลี้ยไฟ, แมลงวันแตง, แมลงหวี่ขาว,
ระยะโตเต็มที่ 105-110 วัน โรคราแป้ง, โรคไวรัส, เพลี้ยไฟ, แมลงวันแตง, แมลงหวี่ขาว,

-------------------------------------------------------------------
Japanese pumpkin is called Kabocha in Japan. It has a dark green skin, and the color of the inside is orange. Average diameter is about 15-25 cm.
Nutrition : It is rich in beta carotene, with iron, vitamin C, potassium, and smaller traces of calcium, folic acid, and minute amounts of B vitamins.
Japanese pumpkin is cooked in many different ways, For example, Tempura is a popular way to cook. Also, simmering is common. Japanese pumpkin has slightly sweet taste, so it’s suitable for making sweets as well.
ese variety of winter squash. The word kabocha has come to mean a general type of winter squash to many English-speaking qrowers and buyers.

ไม่มีความคิดเห็น: